ทำความรู้จักกับสายพาน และวิธีการดูแลรักษา|Webike โมโตเทคนิค EP.3

  • 31/03/2017
  •  3,029 views

ทำความรู้จักกับสายพาน และวิธีการดูแลรักษา|Webike โมโตเทคนิค EP.3 - 1078

 

ช่วงหลังมานี้ตลาดรถออโต้ในไทยขยับปรับตัวสูงขึ้นอยู่เรื่อยๆอย่างไม่หยุดยั้ง รถตลาดอย่าง Fino, Mio, Nuvo, Zoomer, Scoopy-i, PCX และอีกมากมายจนนับกันไม่ถ้วนก็ได้รับความนิยมกันอย่างล้นหลาม ซึ่งรถออโต้เหล่านี้ล้วนขับเคลื่อนด้วยสายพานทั้งนั้น และหลายคนก็จะชอบเจอปัญหาสายพานขาด หรือโดนชามกินอยู่กันเป็นประจำ วันนี้เรามาทำความรู้จักสายพานกันก่อน จากนั้นค่อยไปดูวิธีรักษาสายพานให้ใช้ได้นานๆกัน

 

ทำความรู้จักกับสายพาน และวิธีการดูแลรักษา|Webike โมโตเทคนิค EP.3 - 1082

 

แรกเริ่มมาดูกันก่อนว่าสายพานทำงานอย่างไร สายพานนั้นจะทำงานแทนโซ่ หน้าที่ของมันก็คือส่งกำลังจากชุดขับเคลื่อนสู่ล้อหลังเพื่อช่วยในการขับเคลื่อนรถ ซึ่งจะปรับระดับเองตามความเร็วที่เราใช้อยู่จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่รถออโต้ ยิ่งสายพานคุณภาพดีเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสามารถรองรับการใช้งานหนักๆได้เท่านั้น แต่ก็จะไม่ถึงระดับของโซ่อยู่ดี

 

ทำความรู้จักกับสายพาน และวิธีการดูแลรักษา|Webike โมโตเทคนิค EP.3 - 1073

 

ข้อดีของสายพานอยู่ที่การขับเคลื่อนอัตราเร่งจะดีกว่า รถที่ใช้สายพานจะมีเสียงที่เบากว่าโซ่มาก แถมมีน้ำหนักที่น้อยกว่าด้วย ไม่ต้องการการดูแลรักษาเอาใจใส่จากเจ้าของเหมือนอย่างโซ่ที่ต้องคอยทะนุถนอม อีกทั้งยังไม่มีการหย่อนตัวด้วย แต่ข้อเสียก็จะอยู่ตรงที่สิ้นเปลืองเพราะอายุการใช้งานนั้นสั้นมาก ถ้าวิ่งงานหนักๆเพียงแค่สองเดือนก็อาจขาดได้ วิธีการเปลี่ยนก็ยากกว่าโซ่ แต่ถ้าชำนาญก็สามารถเปลี่ยนเองได้เหมือนกัน

แล้วถ้าอยากได้สายพานดีๆมาใช้ล่ะต้องทำอย่างไร? คำตอบก็คือ ซื้อสายพานแต่งครับ จากร้านอะไหล่รถต่างๆ หรือจากเว็บนอก เพราะของแต่งนั้นจะใช้วัสดุที่ดีกว่า มีความทนทานมากกว่าเดิม และรับความร้อนได้ดีกว่า

 

 

ส่วนสาเหตุที่หลายๆคนประสบปัญหาสายพานขาดบ่อยจริงๆก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเพราะหลักๆเลยก็คือการเสื่อมสภาพไปตามการใช้งานนั่นเอง แต่สำหรับใครที่ทำเครื่องมาแล้วเจอปัญหานี้ ก็ควรพิจารณาเปลี่ยนสายพานโดยด่วน เพราะสายพานที่คุณมีอยู่นั้นไม่สามารถรองรับกับกำลังเครื่องที่แรงกว่าเดิมได้ จึงจะทำให้ใช้งานได้ทนกว่าเดิม ไม่ขาดง่าย

 

 

ปิดท้ายด้วยวิธีการดูแลรักษา ซึ่งจริงๆแล้วไม่มีการดูแลรักษาใดๆทั้งสิ้น ขาดก็เปลี่ยน จะมีก็แต่วิธีเช็คเท่านั้นว่าควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ สายพานควรตรวจสอบดูการสึกหรอเมื่อครบ 7,000 กม. และหลังจากนั้นทุกๆ 3,000 กม. ส่วนตัวสายพานเลยควรเปลี่ยนเมื่อครบ 25,000 กม. หรือว่าถ้าเกิดได้ยินเสียดังมาจากสายพานมากกว่าปกติก็ให้พึงระวังไว้เลยว่าน่าจะมีปัญหาแล้ว

 

 

Weekly sale from Webike Thailand ทำความรู้จักกับสายพาน และวิธีการดูแลรักษา|Webike โมโตเทคนิค EP.3 - 20160629 sale 756 300 th
Line@ banner ทำความรู้จักกับสายพาน และวิธีการดูแลรักษา|Webike โมโตเทคนิค EP.3 - line ad banner 20161025 email

 

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

ฉลองครอบรอบ 20ปี วีไบค์

ค้นหาสินค้าจาก วีไบค์ไทยแลนด์

Return Top