รีวิวทดสอบ “V-MAX 1680”อสูรกายบ้าพลัง!

  • 15/09/2016
  •  311 views

รีวิวทดสอบ “V-MAX 1680”อสูรกายบ้าพลัง! - header5

ตัวรถขนาดมหึมาดูแข็งกร้าวด้วยโลหะทั้งตัว นั่นคือความประทับใจที่ผมมีให้กับ VMAX ตั้งแต่ครั้งแรกที่มันเปิดตัวในปี 1985 ถึงปี 2009

VMAX นั้นเป็นสัญลักษณ์ของความทรงพลัง และตัวมันเองก็ติดตั้งมาด้วยฟิจเจอร์ใหม่ทั้งหมดเพื่อรถตระกูลครุยเซอร์โดยเฉพาะ ซึ่งนั่นทำให้มันได้รับคำชื่นชมอย่างมากจากชาวอเมริกัน โดยทาง Yamaha นั้นพยายามที่พัฒนาและปรับปรุงมันอยู่อย่างต่อเนื่องแต่ดูเหมือนว่ามันไม่ง่ายเลยสำหรับการจัดการกับรถคันนี้

สัญลักษณ์แห่งพลัง, โดดเด่นด้วยมัดกล้าม, แข็งแกร่ง และดำรงอยู่ คือหลักสำคัญของ VMAX ที่จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง แต่รถมอเตอร์ไซค์ย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมันจะสะท้อนให้เห็นถึงเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาอย่างไม่หยุดนิ่งตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

เอาหล่ะกลับมาเข้าประเด็นกันต่อครับ VMAX นั้นเป็นรถครุยเซอร์ตัวใหม่ที่มาพร้อมพลังอันมหาศาล มันให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ราบรื่นสบายและอัตราเร่งของเครื่องยนต์ V4 เมื่อเปิดคันเร่งที่รอบต่ำและความเร็วต่ำได้เป็นอย่างดี แต่ในครั้งนี้โค้งลาดเอียงค่อนข้างแคบ อีกทั้งตัวเฟรมและอาร์มหลังก็ไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไรนักจึงทำให้ไม่สามารถทำความเร็วสูงในโค้งได้ ซึ่งตัวบอดี้ของรถที่เป็นเน็คเก็ตแบบนี้ก็ไม่ได้ให้ความสบายสักเท่าไรเลยในยามขับขี่ แต่ช้าก่อน! นั้นคือ VMAX โมเดลเก่าก่อนปี 2009 ครับส่วน VMAX โฉมใหม่นั้นมันจะมอบความตื่นเต้นเร้าใจในการขับขี่ให้กับคุณอย่างที่คุณจะไม่สามรถพบเจอในโมเดลไหน ๆ มาก่อนอย่างแน่นอน

พร้อมกันนี้ VMAX โฉมใหม่ยังมาพร้อมการอัพเดตประสิทธิภาพมาใหม่สำหรับการเดินทางโดยเฉพาะ แม้ว่ามันจะหนักถึง 400 กก. ก็ตาม แต่เมื่อคุณได้ขึ้นไปค่อมมันคุณจะไม่รู้สึกถึงน้ำหนักนั้นเลย และเมื่ออยู่บนท้องถนนคุณจะรู้สึกว่าตัวเองกำลังขับรถเน็คเก็ตคลาส 1000 ซีซี อยู่เท่านั้นเองเพราะมันคอนโทรลง่ายมาก ๆ  และยังได้รับการออกแบบจุดศูนย์ถ่วงมาใหม่รวมทั้งออกแบบตัวบอดี้แบบเลขาคณิตอีกด้วย ลักษณะของโช็คทั้งหน้าและหลัง, ความแข็งแกร่งบึกบึนของเฟรมและสวิงอาร์มทุกอย่างทำออกมาได้อย่างลงตัว มันเป็นรถมอเตอร์ไซค์คันแรกที่ผมเห็นแล้วประทับใจอย่างมาก และตัวจริงกับน้ำหนักตัวของมันช่างสวนทางกันซะเหลือเกิน (ช่างภาพโดย : มาริ ยามากูชิ, ซาจิโอะ โมรินากะ เขียนโดย : ฮิโรชิ นากามูระ)

 

รีวิวทดสอบ “V-MAX 1680”อสูรกายบ้าพลัง! - 116

เครื่องยนต์อันทรงพลัง 1680 ซีซี V4 ระบายความร้อนด้วยน้ำ และระบบ “V-Boost” ที่ติดตั้งอยู่บนโมเดลต่างประเทศ (คันนี้เป็นสเปคญี่ปุ่น) ถูกถอดออกแล้วแทนที่ด้วยช่องรับอากาศ “YCC-I” และระบบคันเร่งไฟฟ้า “YCC-T” ทำให้เจ้าอสูรกายยักษ์คันนี้ควบคุมง่ายเชื่องมือ

 

รีวิวทดสอบ “V-MAX 1680”อสูรกายบ้าพลัง! - 29

เครื่องยนต์ 4สูบ V ที่ถูกปรับแต่งขึ้นมาจาก 1200 ซีซี เป็น 1680 ซีซี ซึ่งได้ขนาดเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นถึง 40% และปรับองศาการวางเครื่องใหม่เป็น 65 องศาจากเดิมที่ทำมุมกัน 70 องศา และขยายความยาวของเครื่องยนต์ตัวหน้าและตัวหลังเพียง 27 มม.

 

รีวิวทดสอบ “V-MAX 1680”อสูรกายบ้าพลัง! - 36

ตำแหน่งของฝาปิดถังน้ำมันยังคงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง และสำหรับโมเดลของญี่ปุ่นนั้นจะมีตะขอคล้องหมวกกันน็อคและตะขอเกี่ยวเชือกมาให้ตรงตำแหน่งเดียวกันนี้ด้วย พร้อมลายเส้นปักบนเบาะสีแดงสวยงามคุณภาพสูง

 

รีวิวทดสอบ “V-MAX 1680”อสูรกายบ้าพลัง! - 44

ยังคงใช้เพลาขับในด้านหลังเหมือนโมเดลก่อนหน้า โดยครอบเพลาเป็นวัสดุแม็กนีเซียม ซึ่งเป็นการออกแบบให้น้ำหนักในส่วนของด้านหลังลดลงทำให้สามารถออกรถได้ดียิ่งขึ้น ล้อหน้าหลังขนาด 18 นิ้ว ยางหลัง 200 มม.

 

อะไหล่แต่งสำหรับ YAMAHA
อะไหล่แต่งและอุปกรณ์สำหรับ YAMAHA VMAX

 

รีวิวทดสอบ “V-MAX 1680”อสูรกายบ้าพลัง! - 54

สำหรับโมเดลของญี่ปุ่นนั้นมาพร้อมท่อไทเทเนียมแบบสั้นออก 4-2-1-2-4 พร้อมหม้พักใต้ท้องรถ

เครื่องยนต์สำหรับโมเดลต่างประเทศ (โมเดลส่งออก) สามารถผลิตกำลังออกมาได้ 200HP ขณะที่โมเดลของญี่ปุ่นมีเพียง 151HP เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ และกฎการปล่อยก๊าซเรื่อนกระจก (Euro4) ผมจึงไม่มีโอกาสได้ทดสอบพลังที่เต็มที่ของมัน แต่แรงม้าเพียง 151HP ก็แรงโขแล้ว ซึ่งผมก็ยังสงสัยอยู่ว่าพวกเขาจะต้องการกำลังที่เพิ่มขึ้นไปอีกทำไม

กำลังของเครื่องยนต์ที่ปล่อยออกมาขณะเปิดคันเร่งนั้นมันนุ่มนวลอย่างน่าแปลกใจ จุดเด่นที่สุดของเครื่องยนต์ตัวนี้คืออัตราเร่งที่ค่อนข้างนุ่มนวล แม้ซุ่มเสียงของเครื่องยนต์ V4 ตัวนี้จะดุดันแต่มันกลับออกตัวได้อย่างราบเรียบ ตัวเฟรมและระบบกันสะเทือนเองก็ไม่แข็งกระด้าง

ผมเริ่มสตาร์เครื่องแล้วก็ขับโดยใช้เกียร์ต่ำจากนั้นก็เปิดคันเร่งเต็มที่ด้วยความเร็ว 20 กม/ชม. และผมรู้สึกถึงแรงที่โถมเข้ามาปะทะหน้าอย่างจังและตัวเอนไปทางด้านหลังของรถ (ประมาณว่าหลังติดเบาะในรถซุปเปอร์คาร์) โดยปกติแล้วหากเกิดอาการแบบนี้รถจะเสียความสมดุลและเกิดอาการปัดได้ แต่ใน VMAX ตัวใหม่นี้ไม่มีอาการนั้นเลยตัวรถนิ่งมาก ซึ่งแตกต่างจาก R1 และความหนักแน่นก็แตกต่างจาก XJR ด้วย

ในช่วงการวิ่งด้วยเกียร์ 5 นั้นจะได้ความเร็ว 80 กม/ชม. ที่ 2700 รอบ/นาที, 100 กม/ชม. ที่ 3200 รอบ/นาที, 120 กม/ชม. ที่ 4000 รอบ/นาที และความเร็วสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 190 กม./ชม.

เมื่อคุณวิ่งเข้าโค้งที่ลาดเอียงด้วยความเร็ว 150 กม./ชม. คุณจะรู้สึกถึงการกระทบกันของที่พักเท้าและสนามกระทบกัน

VMAX นั้นเคยเป็น “สายพันธ์รอง” ของรถตระกูลครุยเซอร์ แต่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอด 25 ปีที่ผ่านมาทำให้ตอนนี้มันกลายมาเป็น Sport Road ที่งดงามคันหนึ่ง

จุดเด่นที่ดีเกี่ยวกับมันคือ เหล่าสาวกรุ่นเก๋าจากทั่วโลกต่างรับรู้ได้ว่า VMAX ตัวใหม่นั้นคือสมบัติชิ้นหนึ่งของ Yamaha ที่ถูกพัฒนาเพิ่มเติมฟีจเจอร์ใหม่ ๆ มาสำหรับทุก ๆ คน (ช่างภาพโดย : มาริ ยามากูชิ, ซาจิโอะ โมรินากะ เขียนโดย : ฮิโรชิ นากามูระ)

 

รีวิวทดสอบ “V-MAX 1680”อสูรกายบ้าพลัง! - 64

โช็คหน้า Φ52 มม. ปรับตั้งได้เต็มรูปแบบพร้อมเบรคหน้า ABS คาลิปเปอร์ 6 ลูกสูบทำงานร่วมกับดิสเบรค Φ320 มม.

 

รีวิวทดสอบ “V-MAX 1680”อสูรกายบ้าพลัง! - 74

วัดรอบอนาล็อคแบบเข็มพร้อมบอกความเร็วเป็นแบบดิจิตอล และมีไฟเตือนเมื่อถึงรอบของการเปลี่ยนเกียร์

 

รีวิวทดสอบ “V-MAX 1680”อสูรกายบ้าพลัง! - 84

ตำแหน่งท่านั่งที่ดูสบายไม่ปวดหลัง

Original Source [Autoby](*Japanese)

 

โปรโมชั่นสินค้าราคาพิเศษประจำสัปดาห์ 

Weekly sale from Webike Thailand รีวิวทดสอบ “V-MAX 1680”อสูรกายบ้าพลัง! - 20160629 sale 756 300 th

 

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

ฉลองครอบรอบ 20ปี วีไบค์

ค้นหาสินค้าจาก วีไบค์ไทยแลนด์

Return Top